ข้อมูลชุมชน
ความเป็นมาของอำเภอนาหว้า
          พ.ศ. ๒๔๕๐ ได้มีการปรับปรุงการปกครองในหัวเมืองต่างๆ โดยให้มีมณฑลเมืองและอำเภอเท่านั้น สำหรับเมืองนครพนม ได้แบ่งการปกครองออกเป็น ๘ อำเภอ
โดยยุบเมืองต่างๆ คือเมืองมุกดาหาร เมืองท่าอุเทน และเมืองไชยบุรี ลงเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองนครพนม เมืองนครพนมประกอบด้วย ๘ อำเภอ ได้แก่อำเภอเมือง
นครพนม ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ เป็นอำเภอหนองบึกแล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นอำเภอเมืองนครพนมตามเดิม อำเภอเมืองไชยบุรี อำเภอเมืองท่าอุเทน อำเภอเมืองอากาศอำนวยอำเภอเมืองกุสุมาลย์ อำเภอเมืองเรณูนครย้ายไปตั้งอยู่ที่บ้านธาตุพนม และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอธาตุพนม อำเภอเมืองมุกดาหาร และอำเภอหนองสูง(ต่อมาย้ายไปตั้งอยู่ที่บ้านนาแกและได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอนาแก)
          พ.ศ. ๒๔๕๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้ยุบอำเภอเมืองกุสุมาลย์มณฑลไปรวมกับอำเภอเมืองนครพนม (ภายหลังได้โอนไปขึ้นกับจังหวัดสกลนคร) และได้ยุบอำเภอเมืองอากาศอำนวย ไปรวมกับท้องที่อำเภอท่าอุเทน ภายหลังได้โอนอำเภออากาศอำนวยไปขึ้นกับ จังหวัดสกลนคร ให้ตัดท้องที่บางส่วนของอำเภอโพนพิสัยของเมืองหนองคายมารวมกับ ท้องที่อำเภอไชยบุรี แล้วย้ายที่ตั้งอำเภอไชยบุรีไปตั้งที่บ้านบึงกาฬแต่ยังขึ้นกับเมืองนครพนมอยู่ ภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอไชยบุรีเป็นอำเภอบึงกาฬแล้วโอนไปขึ้นจังหวัดหนองคาย
          ในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ เมืองไชยบุรีในอดีตจึงมีฐานะเป็นเพียงตำบลในปัจจุบัน และในปีเดียวกันนี้เองที่บ้านนาหว้า ได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบล ขึ้นต่ออำเภอศรีสงครามและขุนภักดีราชกิจ (กันหา) ก็ได้เป็นกำนันคนแรกของตำบลนาหว้า และมีนายฮุย คำหานายบุญ  นาขะมินนายทองคำ  วะชุมนายโจม  อุปพรหม,นายสนั่น   วะชุมนายหงส์   วะชุมนายสุด   ไชยมงค์นายบุญ   วะชุมตามลำดับ
ต่อมาที่ตั้งบริเวณบ้านนาหว้า ก็ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ และอำเภอมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลทำให้เกิดเทศบาลตำบลขึ้นใหม่ จำนวน ๙๘๑ แห่ง ทำให้บ้านนาหว้ามีฐานะเป็นเทศบาลตำบลโดยรวมเข้ากับบ้านนางัว เรียกชื่อเป็น เทศบาลตำบลนาหว้า” มาจนถึงปัจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอนาหว้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด
มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย (จังหวัดสกลนคร) และอำเภอศรีสงคราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีสงครามและอำเภอโพนสวรรค์ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุสุมาลย์และอำเภอเมืองสกลนคร (จังหวัดสกลนคร)ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพรรณานิคมและอำเภออากาศอำนวย (จังหวัดสกลนคร)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
อำเภอนาหว้าแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น ตำบล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
นาหว้า  (Na Wa)             15 หมู่บ้าน
นางัว  (Na Ngua)            13 หมู่บ้าน
บ้านเสียว (Ban Siao)         10 หมู่บ้าน
นาคูณใหญ่ (Na Khun Yai)     7 หมู่บ้าน
เหล่าพัฒนา (Lao Phatthana)      15 หมู่บ้าน
ท่าเรือ (Tha Ruea)      8 หมู่บ้าน
ท้องที่อำเภอนาหว้าประกอบ
องค์กรส่วนท้องถิ่น แห่งได้แก่ 
เทศบาลตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาหว้าและบางส่วนของตำบลนางัว
องค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหว้า
(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาหว้า)
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางัว
(เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาหว้า)
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเสียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเสียวทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลนาคูณใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคูณใหญ่ทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าพัฒนาทั้งตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเรือทั้งตำบล
ข้อมูลอาชีพของตำบล
อาชีพหลัก ทำนา
อาชีพเสริม หัตถกรรมในครัวเรือน

หัตถกรรมพื้นบ้าน

ตำบลนาหว้า
มีการทอผ้ามุกไหม และผ้าฝ้าย ผ้าย้อมคราม ผ้าฝ้ายมัดหมี่โบราณ โดยกลุ่มทอผ้า
หมู่ที่ ๑ - ๕ ตำบลนาหว้า อยู่ที่ธาตุประสิทธิ์
การทำไส้เดือน ปลิง และตุ๊กแกตากแห้ง (อาชีพปริศนา) มีโรงงานรับซื้อ อยู่ที่หมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๘ ตำบลนาหว้า ส่งไปขายต่างประเทศ
ตำบลท่าเรือ
มีการทอผ้าไหมพื้นเรียบ ลายลูกแก้ว หางกระรอก และผ้าไหมมัดหมี่ โดยกลุ่มทอผ้า
หมู่ที่ ๑,๒ และมีการผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน แคน โหวด พิน โปงลาง โดยกลุ่ม
แคนโหวด หมู่ที่ ๑,๒ การทอเสื่อกก โดยกลุ่มทอเสื่อกก หมู่ที่ ๒ และทอผ้าฝ้ายหมู่ที่ ๒,,,
ตำบลนาคูณใหญ่
มีผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ มีกระติบข้าว กล่องของขวัญ กระเช้า พัด หม้อดินเผา
หทู่ที่ ๑ บ้านม่วง โดยกลุ่มศูนย์หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ ๖
ตำบลเหล่าพัฒนา
มีผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก เป็นกระเป๋าถือ กระเป๋าเอกสาร กล่องรับจดหมาย กล่องของขวัญ
โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์จากต้นกก หมู่ที่ ๕,
ตำบลนางัว
มีการทอผ้ามัดหมี่ โดยกลุ่มทอผ้าฝ้าย หมู่ที่ ๔,๖ ทอผ้าฝ้ายและผ้ามัดหมี่และ
ผ้าฝ้ายพื้นเรียบ โดยกลุ่มทอผ้า หมู่ที่ ๑๒
ตำบลบ้านเสียว
มีการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ ผ้าไหมมัดหมี่ โดยกลุ่มทอผ้าฝ้าย
หมู่ที่ ๗,

จำนวนประชากรใน อำเภอนาหว้า
จำนวนหลังคาเรือน  7,112  หลังคาเรือน
จำนวนประชากร   32,274  คน 
จำนวนผู้สูงอายุ   3,071  คน
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง ปี   2,174  คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง   678  คนจำนวนสตรีตั้งครรภ์   152  คน จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้  30  คนจำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป  6,709  คน จำนวนผู้พิการ  419  คน