1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีครู/ผู้รู้/ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้น ๆ เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา ในการถ่ายทอดเนื้อหาของครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม แสดงความคิดเห็นได้ โดยเพิ่มการเขียนถาม/ตอบ หลังการบรรยาย รวมทั้งมีการจัดโอกาสให้ฝึกในห้องปฏิบัติการ และจัดเวลาการให้คำปรึกษา
สื่อ
3.1 สื่อวิชาเลือกบังคับกลุ่มพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจัดทำต้นฉบับ
3.2 สื่อรายวิชาเลือกเสรี สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรี แล้วเสนอให้คณะกรรมการของ สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจารณา ตรวจสอบสอดคล้องของรายวิชากับโปรแกรมการเรียน สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มสาระในแต่ละระดับการศึกษา จากนั้น สำนักงาน กศน.จึงขอรหัสรายวิชาเลือกจากระบบโปรแกรมรายวิชาเลือก ทั้งนี้
ไม่อนุญาตให้พัฒนารายวิชาเลือกที่เรียนได้ทุกระดับการศึกษา
3.3 รูปแบบของสื่อ มี 2 รูปแบบ คือ แบบชุดวิชาและแบบเรียนปลายเปิดโดยให้พิจารณา
ตามธรรมชาติของวิชา
3.4 การจัดทำสื่อเสริมการเรียนรู้ กลุ่มพัฒนาการศึกษานอระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ร่วมกันผลิตสื่อเสริมการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ยาก เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจในการเรียนรายวิชาต่างๆ
การเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนผลการเรียนเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผลการเรียนรู้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ร่วมจัดการศึกษาและเชื่อมโยงผลการเรียนรู้จากวิธีการเรียน ที่หลากหลาย รวมทั้งจากการประกอบอาชีพและประสบการณ์ต่างๆและเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้บุคคลมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเมื่อบุคคลตระหนักและรับรู้ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มานั้น สามารถนำมาเพิ่มคุณค่าโดยการเทียบโอนเป็นผลการเรียน นับเป็นผลพลอยได้จากการเรียนรู้ นอกเหนือจากการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ พัฒนาการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
หลักการ
การเทียบโอนผลการเรียนมีหลักการ ดังนี้ 1. หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ 2. การเทียบโอนผลการเรียนต้องสามารถเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ ทั้งจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาอาชีพหรือประสบการณ์การทำงาน 3. เป็นการเชื่อมโยงการศึกษาทั้งสามรูปแบบ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่ออกจากการศึกษาในระบบ หรือนอกระบบรวมทั้งผู้ที่เรียนรู้ตามอัธยาศัยสามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับการศึกษาเดียวกันหรือระดับที่สูงขึ้น ขอบข่ายการเทียบโอนผลการเรียน แนวทางการเทียบโอนผลการเรียน ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดทำขึ้นเป็นแนวทางให้สถานศึกษาใช้ในการเทียบโอนผลการเรียน ระหว่างรูปแบบการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ระหว่างหลักสูตรของหน่วยงานต่าง ๆ เข้าสู่ หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีขอบข่าย ดังนี้ 1. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายหรือเทียบเท่า
การเทียบโอนผลการเรียนมี 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 การพิจารณาจากหลักฐานการศึกษา 1.1 การพิจารณาหลักฐานการศึกษาจากหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับ เป็นการตรวจสอบหลักสูตรผลการเรียนในรายละเอียดเกี่ยวกับ ระดับหรือชั้นปีที่เรียนจบมา รายวิชาที่เรียน ผลการเรียน ความถูกต้องของหลักฐาน โดยหลักฐานการศึกษาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียนต้องเป็นหลักฐานที่ออกโดยสถานศึกษาของรัฐ หรือเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน หรือวิทยฐานะทางการศึกษา 1.2 การพิจารณาหลักฐานจากการศึกษาต่อเนื่อง เป็นการตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร เนื้อหาวิชาที่ศึกษา จำนวนชั่วโมง หน่วยงานที่จัด เพื่อพิจารณาเทียบโอนให้สอดคล้องกับรายวิชาตามหลักสูตร ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา วิธีที่ 2 การประเมินความรู้และประสบการณ์ เป็นการวัดตรวจสอบและประเมินผลการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกิดจากการประกอบอาชีพ การทำงาน จากการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยใช้เครื่องมือประเมินที่หลากหลาย เช่น แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติจริง เป็นต้นการเทียบโอนผลการเรียนจากหลักฐานการศึกษา มีขอบข่ายดังนี้ 1. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (ในระบบ) เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (นอกระบบ) เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2545 เข้าสู่หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 4. การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักสูตรอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้หลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนจากหลักฐานการศึกษาหลักสูตรที่จัดการศึกษาเป็นระดับ 1. คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนของสถานศึกษา ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรของสถานศึกษาที่ผู้เรียนนำหลักฐานการศึกษามาเทียบโอนผลการเรียน แล้วจัดทำตารางวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อใช้ในการเทียบโอนผลการเรียน 2. การพิจารณาเทียบโอนให้พิจารณาจาก 2.1 ระยะเวลาและระดับชั้นที่ผู้ขอเทียบโอนเรียนผ่านมา 2.2 รายวิชา/ หมวดวิชา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวชี้วัดของรายวิชาหรือคำอธิบายรายวิชา ระหว่างรายวิชาที่นำมาเทียบโอนกับรายวิชาที่รับเทียบโอน ต้องมีความสอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 2.3 จำนวนหน่วยกิตของรายวิชา/หมวดวิชาที่นำมาเทียบโอน ต้องไม่น้อยกว่าจำนวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน หากรายวิชาที่นำมาเทียบโอนผลการเรียนมีจำนวนหน่วยกิตน้อยกว่าจำนวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน อาจนำรายวิชาอื่นที่อยู่ในสาระและมาตรฐานเดียวกัน มานับรวมให้ได้จำนวนหน่วยกิตเท่ากับ หรือมากกว่าจำนวนหน่วยกิตในรายวิชาที่รับเทียบโอนผลการเรียน 2.4 ไม่รับเทียบโอนรายวิชา/ หมวดวิชาที่มีค่าระดับผลการเรียนเป็น 0 ร มส 3. ให้เทียบโอนผลการเรียนได้ทั้งรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือก โดยนับรวมกันแล้วต้องไม่เกินจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดในแต่ละระดับการศึกษา ระดับประถมศึกษา เทียบโอนได้ไม่เกิน 36 หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เทียบโอนได้ไม่เกิน 42 หน่วยกิต ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เทียบโอนได้ไม่เกิน 57 หน่วยกิต 4. การให้ค่าระดับผลการเรียนจากการเทียบโอน 4.1 ผลการเรียนเป็นรายวิชา ให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนตามที่ปรากฏในหลักฐานการศึกษาที่นำมาเทียบโอน ถ้าผลการเรียนในหลักสูตรเดิมมากกว่า 1 รายวิชานำมาเทียบโอนกับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ 1 รายวิชา ให้นำค่าระดับผลการเรียนของรายวิชาที่ขอเทียบโอนมาเฉลี่ยหากมีจุดทศนิยมให้ปรับทศนิยมตามหลักการทางคณิตศาสตร์ เพื่อบันทึกผลการเรียนต่อไป 4.2 ผลการเรียนเป็นหมวดวิชา ให้ใช้ค่าระดับผลการเรียนของหมวดวิชาเป็นค่าระดับผลการเรียนในรายวิชาที่เทียบโอนได้ 5. หัวหน้าสถานศึกษา พิจารณาอนุมัติผลการเทียบโอน
การวัดผลประเมินผลการเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 2 ลักษณะได้แก่ 1. การวัดและประเมินผลรายวิชา สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลรายวิชาดังนี้ 1.1. การวัดและประเมินผลก่อนเรียน เป็นการตรวจสอบความรู้ ทักษะและความพร้อมต่าง ๆ ของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพความพร้อมและความรู้พื้นฐานของผู้เรียน 1.2. การวัดและประเมินผลระหว่างภาคเรียน สถานศึกษาดำเนินการประเมินผลระหว่างภาคเรียนเพื่อทราบความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและผลงาน อันเป็นผลมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รายละเอียดของคะแนนระหว่างภาค ประกอบด้วย 1) การให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา หมายถึง การที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของสถานศึกษา เช่น การร่วมเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การเข้าร่วมในวันสำคัญ ร่วมกิจกรรมของสถานศึกษา เป็นต้น 2) ผลงานที่กำหนดเป็นร่องรอยในแฟ้มสะสมงาน 3) การแสดงออกและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การร่วมอภิปรายการช่วยงานกลุ่ม การตอบคำถาม 1.3. การวัดผลประเมินผลปลายภาคเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบผลการเรียนรู้โดยรวมของผู้เรียนในแต่ละรายวิชา โดยใช้เครื่องมือ เช่น แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบอัตนัย แบบประเมินการปฏิบัติ เป็นต้นการวัดและประเมินผลปลายภาคเรียนนั้น ผู้เรียนที่จะผ่านการประเมินรายวิชาใด จะต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนและมีคะแนนปลายภาคเรียนรวมกับคะแนนระหว่างภาคเรียนผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่สำนักงาน กศน. กำหนด 1.4 การตัดสินผลการเรียนรายวิชา การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้นำคะแนนระหว่างภาคเรียนมารวมกับคะแนนปลายภาคเรียน และจะต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จึงจะถือว่าผ่านการเรียนในรายวิชานั้น ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องเข้าสอบปลายภาคเรียนด้วย แล้วนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยให้ค่าระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ ดังนี้
เกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551